วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

3พรรคถูกยุบเสียงตั้งรัฐบาลแห่งชาติดังกระหึ่มแต่นักเลือกตั้งไม่ได้ยิน

หลังจากตุลากรศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฉิมาธิปไตย ด้วยข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง ส่งผลให้กรรมการบริหารทั้งสามพรรคต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีและพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี จึงมีคำถามว่าต่อจากนี้ไปการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เพราะต่างชาติเองก็มองว่าสถานการณ์บ้านไทยน่าวิตกเกรงจะเกิดสงคามการเมือง

ขณะที่กลุ่มพันธมิตรเองก็ได้ประกาศที่จะยุติการชุมนุมตั้งแต่เวลาสิบนาฬิกาของวันที่สามธันวาคมเป็นต้นไป พร้อมกับระบุจะออกมาใหม่หากมีความไม่ถูกต้องทางเมืองเกิดขึ้นจะกลับมาใหม่ ส่วนกลุ่มนปช.เองขณะนี้ชุมนุมอยู่ที่ลานคนเมืองกทม. ขณะนี้เดียวกันก็มีการเมืองเคลื่อนไหวของกลุ่มคนในพื้นที่เตรียมเข้ากรุง นั้นก็แสดงว่ากลุ่มพันธมิตรหยุดหรือพอแล้วส่วนนปช.กำลังติดสินใจนะหยุดเคลื่อนไหวหรือไม่

เมื่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยยุบพรรคเช่นนี้ก็มีเสียงเรียกร้องให้มีการแก้วิกฤติการเมืองไทย จัดการเมืองเมืองใหม่หรือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยให้นักการเมืองปัจจุบันเสียสละเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อความสามัคคีของคนในชาติ

เสียงเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาตินี้เจ้าตำหรับก็ว่าได้ คือพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ก็ได้บวชสละทางโลกแล้ว แต่เมื่อการเมืองไทยเกิดวิกฤติมากขึ้น ความเห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลแห่งชาติก็มีคนเห็นด้วยมากขึ้น ตามมาก็คือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ก็เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้ แต่ล่าสุดก็บอกว่าคงยาก

แต่เป็นที่น่าสังเกตุก็คือว่าหลังจากศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบสามพรรคได้มีเสียงจากฝ่ายเอกชนที่ได้รับผลกระทบจากการเมืองโดยตรง ก็เห็นด้วยที่จะให้มีการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ อย่างเช่นนายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ เลขาธิการหอการค้าอีสาน เห็นว่า ขณะนี้ประเทศชาติกำลังประสบปัญหาภาวะวิกฤตทางการเมือง ดังนั้น ทุกฝ่ายจึงควรที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหา

ซึ่งแนวทางที่ดีที่สุดในขณะนี้คิดว่าทุกพรรคการเมืองควรยุติบทบาทด้วยการเว้นวรรคการเมือง เพื่อให้มีการคัดสรรคนกลางหรือให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมาบริหารประเทศ เพื่อแก้ไขปัญหาของบ้านเมืองในขณะนี้ รวมทั้งให้ประเทศไทยมีเวลาในการสร้างระบอบประชาธิปไตยรูปแบบใหม่ขึ้นมา

"ส่วนที่หลายฝ่ายแสดงความเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศประชาธิปไตย ส่วนการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาติขึ้นมาบริหารประเทศนั้น จะไม่เป็นระบอบประชาธิปไตย เรื่องนี้มองว่าที่ผ่านมาในการเลือกตั้งแต่ละครั้งประเทศไทยได้สูญเสียระบอบประชาธิปไตยไปมากแล้ว เนื่องจากมีการซื้อสิทธิ์ขายเสียงกันมาก จนสามารถคาดเดาได้ว่าผู้สมัครรายใดจะได้เป็น สส.พรรคการเมืองไหน จะได้เป็นพรรคจัดตั้งรัฐบาล ดังนั้นระบอบประชาธิปไตยของประเทศไทยในขณะนี้ จะต้องมองถึงแนวทางใดที่จะสามารถแก้ไขปัญหาของประเทศได้เพียงอย่างเดียว อย่ามาใช้คำว่าระบอบประชาธิปไตยรูปแบบเก่ามาเป็นตัวปิดกั้นแนวทางการแก้ไขปัญหา" เลขาธิการหอการค้าอีสาน กล่าว

ขณะที่นายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ ก็เห็นเช่นเดียวกันว่า กล่าวว่า ทางออกที่น่าจะดีที่สุดในตอนนี้ก็คือ การจัดตั้งรัฐบาลที่มีความเป็นกลางหรือที่เรียกกันว่ารัฐบาลแห่งชาติ เข้ามาแก้ไขวิกฤติของชาติไปก่อนจนกว่าความสมานฉันท์จะเกิดขึ้นในบ้านเมือง เพราะเชื่อว่าหากว่ากลุ่ม ส.ส.จากพรรคการเมืองเดิมที่ถูกยุบ หรือ พรรคประชาธิปัตย์ จับมือกับกลุ่ม ส.ส.กลุ่มหนึ่งกลุ่มใด จัดตั้งรัฐบาลได้ ก็คาดว่าปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองก็คงจะไม่หมดไปจากบ้านเมืองอย่างแน่นอน

แต่ดูเหมือนว่า เสียงเรียกร้องเหล่านี้ไม่เข้าหูนักการเลือกตั้งเลย เพราะวันที่ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินยุบสามพรรคเรียบร้อย แทนที่คนเหล่านี้จะคิดหาทางออกให้กับการเมืองไทย แต่ยังคงมีความคิดเดิมๆๆ ย้ายพลพรรคไปสังกัดพรรคที่ได้ตั้งไว้รอแล้ว และสรรหาคนขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีในพรรคกลุ่มเดิม จึงทำให้ปรากฏชื่อ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นตัวเต็งหนึ่งที่จะได้รับเลือกเป็นนายกฯคาดคงเป็นวันที่แปดหรือเก้าธันวาคมนี้ แม้นแต่นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ก็มีคนกล่าวถึงเพราะอาวุโส (โอ้ววแม่เจ้า) ก็ไม่รู้จะว่าอย่างไรเหมือนกันเพราะนักเลือกตั้งมองแต่ประโยชน์ส่วนตัวเป็นที่ตั้ง แล้วประโยชน์ที่ตัวเองเบียดบังมานั้นก็มีทางหมดไปเหมือนกันเหมือนกันคนบ้างคนที่ขณะนี้ประเทศอังกฤษก็มีการอายัดทรัพย์เป็นแสนล้านบาทไว้ ต้องบอกว่าสรรพสิ่งทั้งหลายหรือสมบัติที่เป็นวัตถุสมบัตินั้นไม่เที่ยงจริงๆๆๆ

สำหรับแนวทางในการตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันนั้นขอเสนอดังนี้ อันดับแรกก็คือนักการเมืองหรือส.ส.ทุกคนต้องเห็นต้องกันที่จะสามัคคีกันตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หลังจากนั้นก็เลือกผู้นำหรือนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ อาจจะเลือกหัวหน้าพรรคที่มีส.ส.น้อยที่สุด หรือ ส.ส.ที่มีวุฒิภาวะความเป็นผู้นำ

หลังจากนั้นก็เลือกคนจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ก็มีสองแนวทางก็คือ เลือกจากส.ส.ด้วยกันเองเท่านั้น หรือว่าจะเลือกนักบริหารซึ่งเป็นคนนอกเฉพาะด้านที่เหมาะสมแต่ละกระทรวง แต่สำหรับความเห็นแล้วน่าจะเป็นวิธีหลัง เพราะหากเป็นวิธีแรกก็จะมองด้านผลประโยชน์ของตัวเองอีก

ก็มีคำถามตามว่าแล้วใครจะทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหาร เชื่อแน่ว่าคงไม่มีปัญหา เพราะทั้งพันธมิตร สื่อมวลชน และส.ส.เองก็สามารถทำหน้าที่นี้ได้ และในช่วงนี้ ส.ส. ส.ว.และทุกฝ่ายมาเขียนกติกาบ้านเมืองกันใหม่เอาให้มันตกผลึก ใครเก่งอะไรก็แสดงออกมา พันธมิตรที่บอกว่าต้องการการเมืองใหม่ก็เสนอตุ๊กกาออกมา ส.ส.จะได้ทำหน้าที่ของตัวเองเสียบ้าง คิดในระดับชาติ ไม่ใช่ไปแย่งงานท้องถิ่นทำ กระจายอำนาจท้องถิ่นให้ชัด

เสร็จแล้วถึงค่อยยุบสภา สู้กันในสนามเลือกตั้งอย่างลูกผู้ชาย ก็เชื่อแน่ว่าวิธีนี้การเมืองไทยจะสามารถเดินไปได้ สัตว์มันยังเลือกผู้นำมันได้แล้วมนุษย์บอกว่ามีปัญญามากกว่าสัตว์ไม่สามารถเลือกผู้นำที่ดีได้เลยหรือ



มหาเนชั่น

http://www.mhanation.net

รายงาน
วันอังคาร ที่ 2 ธันวาคม 2551

ไม่มีความคิดเห็น: