ดูเหมือนว่าช่วงนี้ทั้งรากหญ้าและท้องถิ่นจะเนื้อหอมได้รับความสนใจจากนักการเมืองระดับชาติ เริ่มตั้งแต่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แถลงครั้งแรกเมื่อได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรี ก็ชูแหวน "ยายเนียม พันธ์มณี" ชาวอำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี ที่มอบให้ในช่วงหาเสียง เพื่อเป็นการมัดใจชาวอีสานที่พรรคประชาธิปัตย์ มีจุดด่อยมาตลอด
และวันที่ 25 ธันวาคมนี้ ก็มอบให้นายวิฑูรย์ นามบุตร รมว.กระทรวงการพัฒนาสังคมฯนำภาพนายอภิสิทธิ์ที่ถ่ายคู่กับยายเนียม เมื่อครั้งมาหาเสียงเมื่อวันที่ 8 เดือนสิงหาคม 2550 พร้อมจดหมายไปมอบให้ที่โรงพยาบาลศูนย์สรรพสิทธิประสงค์ อ.เมือง จ.อุบลราชธานี ที่ยายเนียมนอกพักรักษาอยู่เพื่อเตรียมผ่าตัดนิ่วในถุงน้ำดี
ก็อย่าได้สนในยายเนียมเพื่อสร้างภาพเท่านั้นขอให้แก้ปัญหาตามที่ยายเนียมต้องการ เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้ยายเนียมมีความรู้สึกไม่ต่างกับยายไฮที่มีต่อคนชื่อทักษิณขณะนี้
ขณะเดียวกันในร่างนโยบายของรัฐบาลได้กำหนดแนวทางการแก้วิกฤติเศรษฐกิจโดยจะมีการอัดฉีดเงินลงไปที่รากหญ้าเป็นแสนๆล้านบาท โดยจะมีการปรับเงินเอสเอ็มแอลให้เป็นเงินกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง โดยจะมีการขอกู้เงินจากธนาคารออมสิน 2.1 หมื่นล้านบาท ตั้งกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง 7 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศ โดยจะกำหนดวงเงินที่หมู่บ้านจะได้รับเป็นสองเท่าของเงินที่ได้จากโครงการเอสเอ็มแอล เช่นเคยได้ 2 แสนบาทก็จะได้เพิ่มเป็น 4 แสนบาท ต่อหมู่บ้าน ส่วนหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินยังเหมือนเดิม
จากแนวคิดดังกล่าวนี้เห็นด้วยอย่างยิ่งเพราะจะทำให้การนำเงินในโครงเอสเอ็มแอลมีเป้าหมายที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เพราะหากรัฐบาลชุดนี้กระทำสำเร็จในประเด็นนี้ก็ถือว่าคุ้มค่าแล้วที่เข้ามาบริหารประเทศ
เนื่องจากว่าที่ผ่านมานั้นการว่านเงินลงไปที่รากหญ้าทั้งแต่เงินกระตุ้นเศรษฐกิจมิยาซาว่า เงินกระตุ้นเศรษฐกิจ 5.8 หมื่นล้านบาท ก็ละลายหายไปกับตายไม่รู้ว่าเข้ากระเป๋าใครบ้าง พอมาถึงโครงการเอสเอ็มแอลก็มีทีท่าว่าจะละลายหายไปกับหัวคะแนนอีก เนื่องจากไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจนขาดทิศทางอย่างเช่นความเห็นของ นายชวลิต วิเศษสิทธิกุล นายกเทศบาลตำบลบางจัก อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง และประธานสันนิบาตเทศบาล (สทจ.)อ่างทอง มองว่า
การปล่อยเงินลงรากหญ้าโดยเฉพาะโครงการเอสเอ็มแอลเป็นเรื่องดีเหมาะสมในสภาวะนี้ แต่เงินก้อนนี้เสมือนฝายแม้วมีเงินสร้าง แต่ไม่มีเงินซ่อม ปล่อยทิ้งให้ อปท.ในพื้นที่รับภาระต่อ และ เป็นการทับซ้อนสร้างปัญหากับ อปท.เจ้าของพื้นที่ซึ่งมีโครงการไว้ และขาดการติดตามตรวจสอบอย่างใกล้ชิด ถ้าจะให้ถึงรากหญ้าเป็นประโยชน์กับชุมชนควรออก กฎข้อบังคับให้รัดกุมกว่านี้
"ถ้าเป็นไปได้ควรมอบให้ อปท. ซึ่งอยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด มีพื้นฐานข้อมูล และเป็นส่วนราชการที่ มีผู้ตรวจสอบทุกปี จากการตรวจสอบภายใน จังหวัด และสำนักงาน สตง. เป็นหน่วยงานราชการมี กฎ ระเบียบ ควบคุมทุกขั้นตอนนานนับสิบปี การผันเงินแบบ เอสเอ็มแอล ไม่เหมือนกองทุนหมู่บ้าน ซึ่งบริหารจัดการกันเองแต่เงินยังอยู่เป็นของหมู่บ้านส่วน เอสเอ็มแอล ไห้แล้วหมดเลย "นายชวลิต กล่าว (ข้อมูลจากเว็บไซต็คมชัดลึก)
จึงนับได้ว่าเป็นเสียงสะท้อนได้เป็นอย่างดี เนื่องจากที่ผ่านมานั้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐบาลประชาชนนิยมมักจะมองข้ามองค์กรท้องถิ่น มักจะทุ่มเงินไปที่ประชาชนโดยตรง ทั้งเงินเอสเอ็มแอลและกองทุนหมู่บ้านผู้บริหารท้องถิ่นก็ไม่ได้ท้องถิ่นเข้าไปมีส่วนร่วมโดยตรง
ดังนั้นรัฐบาลนี้หากจะมีการปรับโครงการเอสเอ็มแอลเป็นกองทุนเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว จำเป็นอย่างยิ่งต้องนำผู้บริหารท้องถิ่นเข้ามามีส่วนร่วม ส่วนจะลักษณะใดนั้นคงต้องพิจารณาตามความเหมาะสมไม่ใช่เป็นการตัดขาดอย่างเช่นที่ผ่านมา แนวทางจึงน่าจะเป็นยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียงประสานการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นเป็นหลัก
ขณะเดียวกันสถานภาพของผู้บริหารท้องถิ่นตามกฎหมายเลือกตั้งองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้กำหนดให้อยู่ในวาระติดต่อกันได้ 2 สมัยเท่านั้น ดูเหมือนว่าเริ่มมีกระแสให้มีการเปลี่ยนแปลงกลับไปแบบไม่มีกำหนด ดูจากการการประชุมใหญ่วิชาการสมาคมสันนิาตเทศบาลแห่งประเทศไทย ที่โรงแรมโลตัสปางสวนแก้ว อ.เมือง จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 25 พ.ย.โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,500 คน เมื่อวันที่ 25 ธ.ค.ก็มีการแสดงความเห็นในประเด็นนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจาก นายสามารถ แก้วมีชัย รองประธานสภาผู้แทนราษฎร คนที่ 1 ส.ส.เชียงราย พรรคพลังประชาชนเดิม ที่เปิดเผยว่า วาระเร่งด่วนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นตอนนี้คือ การเสนอร่างกฎหมายในประเด็นยกเลิกการกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งของผู้บริหารไม่เกิน 2 สมัยรวมระยะเวลา 8 ปี ซึ่งโดยส่วนตัวแล้วเห็นด้วยเป็นอย่างมากถือว่าเป็นการจำกัดสิทธิและความสามารถของบุคคล
ทั้งนี้ จากการพบปะ และรับฟังปัญหาผู้บริหาร ทั้งองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด เมืองพัทยา และเทศบาล เห็นพ้องไปในแนวทางเดียวกันอยากให้มีการปลดล็อก เนื่องจากในระบอบประชาธิปไตยอำนาจในการเลือกผู้บริหารเป็นของประชาชน ดังนั้น ประชาชนควรจะเป็นผู้ตัดสินใจ ถ้าบุคคลมีความสามารถก็ให้อำนาจประชาชนเป็นผู้เลือก ซึ่งจากการพูดคุยกันที่ผ่านมาเสียงต่อต้านก็แผ่วบางลง
"บางคนเห็นว่าถ้านายกฯ อยู่นานจะเกิดอิทธิพล ก๊วน ตั้งเป็นแก๊ง มาเฟีย ผมว่าไม่น่าจะเกิดขึ้น ประชาชนตระหนักได้ เพราะเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้ประชานเกิดการเรียนรู้เรื่องการเมืองมากขึ้น การเมืองภาคประชาชนมีบทบาทและมีความสำคัญมากขึ้นในสังคมตอนนี้ และประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบเพิ่มมากขึ้น ผมยังยืนยันว่าร่างกฎหมายปลดล๊อควาระการทำงานต้องเร่งทำให้เกิดขึ้นอย่างเร็วที่สุด" นายสามารถ กล่าวและว่า
อย่างไรก็ตาม ร่างกฎหมายดังกล่าวผ่านไปได้ครึ่งทางแล้ว ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติเทศบาล (ฉบับที่...) พ.ศ.... ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งคาดว่าคณะกรรมาธิการฯ จะพิจารณาได้ในสมัยประชุมสภาวิสามัญทั่วไปวันที่ 21 ม.ค.2552 อย่างแน่นอน ทั้งนี้ นายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา ก็ได้มอบหมายให้ตนเองเป็นผู้จัดการและให้ถือเป็นวาระเร่งด่วนที่สุดที่ต้องผลักดันให้แล้วเสร็จ โดยการประชุมสภาวิสามัญจะบรรจุเข้าเป็นวาระการพิจารณาลำดับต้นๆ เพราะเป็นห่วงว่าหากไม่รับเสนอ และมีการเล่นเกมการเมือง โดยการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจนายอภิสิทธิ์จะทำให้ร่างกฎหมายดังกล่าวคาราคาซัง ไม่ยอมจบ (ข้อมูลจากเว็บไซต็คมชัดลึก)
ซึ่งก็ดูเหมือนว่าเรื่องเกี่ยวกับท้องถิ่นเริ่มเข้าตาคนในพรรคพลังประชาชนเดิม ทั้งๆๆที่ก่อนหน้านี้แถบจะไม่ได้รับความสนใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดสรรงบประมาณให้กับท้องถิ่นร้อยละ35 ตามที่กำหนดไว้ในแผนการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นตั้งแต่ปี 2542 แล้ว โดยมีการกำหนดให้จัดสรรให้ให้ครบในปี 2549 มีการดึงโดยอ้างเหตุผลต่างๆๆนานา ประเด็นหนึ่งก็คือความไม่พอขององค์กรท้องถิ่น
ดังนั้นจะเห็นได้ว่าองค์กรท้องถิ่นมีคนความพยายามที่จะนำไปเป็นเครื่องมือของนักการเมืองระดับชาติอยู่เสมอ ทั้งนี้เป็นเพราะอะไรก็เพราะนักการเมืองระดับชาติไม่รู้จักโตคิดเรื่องระดับชาติไม่เป็นยังยึดติดอยู่กับฐานเสียงกลัวตัวเองไม่ได้เป็น ส.ส. เมื่อเข้าไปแล้วหาความสามารถในการแก้ปัญหาระดับชาติไม่ได้ ขณะเดียวกันแทนที่จะกระจายอำนาจไปสู่ท้องถิ่น กลับมีการหวงอำนาจเพราะกลัวว่าตัวเองไม่ได้มีอำนาจในการกำหนดเม็ดเงินงบประมาณแผ่นดิน จะเห็นได้ว่าตั้งแต่ที่พรรคประชานิยมเข้ามาบริหารประเทศการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นจึงย่ำอยู่กับที่ไม่ไปถึงไหน
มาคราวนี้รัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์เข้ามาบริหารประเทศพอจะเป็นแสงสว่างอยู่บ้างจะจุดที่จะมีการปรับเงินโครงการเอสเอ็มแอลเป็นกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง ส่วนการผลักดันการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นให้เป็นไปตามแผนอย่างไรนั้น ตอนนี้ยังไม่รู้ว่าจะมีความคืบหน้าหรือไม่ เพราะดูรัฐมนตรมหาดไทยที่ดูแลกรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่นก็อยู่ในมือ รมต.กลุ่มเนวิน
ก็จะดูอีกจุดหนึ่งว่าสำนักงานคณะกรรมการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นที่สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีใครจะดู เพราะก่อนหน้านี้นายอภิสิทธิ์เคยกำกับดูแลสมัยเป็นรัฐมนตรประจำสำนักนายกรัฐมนตรี คงจะทราบประเด็นนี้ดี ก็ยังไม่ทราบว่าแนวทางจะเป็นอย่างไร
ล่าสุดจากผลการประชุมร่วมกันระหว่าง 14 หน่วยงาน เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กรมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการ เพื่อเตรียมมาตรการรองรับผลกระทบต่อแรงงานจากวิกฤติเศรษฐกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการตกงานที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้ โดยที่ประชุมยังเห็นชอบให้นำงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่มีอยู่จำนวน 5 นำมาแก้ไขปัญหาวิกฤติทางเศรษฐกิจครั้งนี้ พร้อมกับกำหนดให้ท้องถิ่นตั้งศูนย์รับมือด้วยแสนล้านบาท
แนวทางกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นสำหรับพรรคประชาธิปัตย์นั้นถือว่าเห็นด้วยและพูดมาตลอดว่าจะผลักดันให้บรรลุเป้าหมาย เมื่อเข้ามาอำนาจแล้วก็ควรจะเร่งดำเนินการเพราะเวลานั้นไม่แน่นอน อะไรที่เป็นหัวใจสำคัญต้องทำก่อน และไม่ใช่หวังผลทางการเมืองเท่านั้น ต้องอยู่ที่ความยั่งยืนของการพัฒนาประเทศด้วย
mhanation.net
รายงาน
วันพฤหัสบดีที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น