หลังจากตุลากรศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยยุบพรรคพลังประชาชน พรรคชาติไทย และพรรคมัชฉิมาธิปไตย ด้วยข้อหาทุจริตการเลือกตั้ง ส่งผลให้กรรมการบริหารทั้งสามพรรคต้องถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองเป็นเวลาห้าปีและพ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรี จึงมีคำถามว่าต่อจากนี้ไปการเมืองไทยจะเป็นอย่างไร เพราะต่างชาติเองก็มองว่าสถานการณ์บ้านไทยน่าวิตกเกรงจะเกิดสงคามการเมือง แล้วรูปรัฐบาลหลังจากนี้จะเป็นอย่างไร
เสียงเรียกร้องให้มีการแก้วิกฤติการเมืองไทย จัดการเมืองเมืองใหม่หรือตั้งรัฐบาลแห่งชาติ โดยให้นักการเมืองปัจจุบันเสียสละเว้นวรรคทางการเมืองเพื่อความสามัคคีของคนในชาติดังขึ้นเรื่อยๆๆ
เสียงเรียกร้องให้มีการจัดตั้งรัฐบาลแห่งชาตินี้เจ้าตำหรับก็ว่าได้ คือพล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ อดีตนายกรัฐมนตรี ขณะนี้ก็ได้บวชสละทางโลกแล้ว แต่เมื่อการเมืองไทยเกิดวิกฤติมากขึ้น ความเห็นด้วยกับการตั้งรัฐบาลแห่งชาติก็มีคนเห็นด้วยมากขึ้น ตามมาก็คือ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ. นายสุลักษณ์ ศิวรักษ์ รวมถึงนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ก็เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้
แต่ล่าสุดก็บอกว่าคงยาก ตอนนี้เสียงนั้นก็ลามมาที่นักธุรกิจผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการเมืองโดยตรง ไม่ว่าจะเป็นนายทวิสันต์ โลณานุรักษ์ เลขาธิการหอการค้าอีสาน หรือนายอิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดกระบี่ แต่ดูเหมือนเสียงเรียกร้องนี้เริ่มจะเข้าหูนักการเมืองบ้างแล้วอย่างเช่นนายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย ส.ส.อุตรดิตถ์ อดีตส.ส.พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ได้คุยกับ ส.ส.ต่างพรรคเห็นว่า
น่าจะมีคนกลางโดยเป็นแกนนำของอดีตพรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์มาคุยกัน เพื่อร่วมมือกันจัดตั้งรัฐบาล เป็นรัฐบาลเพื่อชาติ ไม่ใช่รัฐบาลแห่งชาติ โดยจะทำงานเพื่อประชาชนและเพื่อสถาบันพระมหากษัตริย์
"คงจะมีการวางกรอบการทำงานที่ชัดเจนให้กลุ่มเสื้อเหลืองและเสื้อแดงเลิกทะเลาะกัน เราต้องทำเพื่อลูกหลานในอนาคต ไม่ใช่ทิ้งซากปรักหักพังไว้ให้ลูกหลาน ส่วนพรรคที่เหลือก็เป็นฝ่ายค้านทำหน้าที่ตรวจสอบ " นายทนุศักดิ์ กล่าว
ขณะที่นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ อดีตส.ส.สัดส่วน พรรคพลังประชาชน กล่าวว่า ขณะนี้มีหลายทางออก แนวทางหนึ่งคือให้พรรคพลังประชาชนกับพรรคประชาธิปัตย์จับมือตั้งรัฐบาลร่วมกัน เพื่อแก้วิกฤตการเมือง
จำได้ว่านายทนุศักดิ์ เล็กอุทัย นั้นเคยสังกัดพรรคประชาธิปัตย์มาก่อน และขณะที่นายประสงค์ บูรณ์พงศ์ เป็นหรือไม่นั้นไม่แน่ใจ
รูปแบบของการตั้งรัฐบาลแห่งชาติที่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญปัจจุบันนั้นตามที่เคยเสนอดังนี้ อันดับแรกก็คือนักการเมืองหรือส.ส.ทุกคนต้องเห็นต้องกันที่จะสามัคคีกันตั้งรัฐบาลแห่งชาติ หลังจากนั้นก็เลือกผู้นำหรือนายกรัฐมนตรี ซึ่งจะต้องเป็น ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ อาจจะเลือกหัวหน้าพรรคที่มีส.ส.น้อยที่สุด หรือ ส.ส.ที่มีวุฒิภาวะความเป็นผู้นำ โดยไม่มีการผูกขาดที่พรรคพลังประชาชนเดิม
หรือว่า จะเป็นพรรคประชาธิปัตย์กับศิษย์เก่าของพรรคประชาธิปัตย์ ก็ไม่จำกัดว่าจะเป็นนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคมาเป็นนายกรัฐมนตรี
หลังจากนั้นก็เลือกคนจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรี ก็มีสองแนวทางก็คือ เลือกจากส.ส.ด้วยกันเองเท่านั้น หรือว่าจะเลือกนักบริหารซึ่งเป็นคนนอกเฉพาะด้านที่เหมาะสมแต่ละกระทรวง แต่สำหรับความเห็นแล้วน่าจะเป็นวิธีหลัง เพราะหากเป็นวิธีแรกก็จะมองด้านผลประโยชน์ของตัวเองอีก
ขณะเดียวกันขอเสนอให้ดู นายบารัก โอมาบา ว่าที่ประธานาธิบดีสหรัฐ ตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ที่เปิดตัวคณะทำงานด้านความมั่นคงในรัฐบาลชุดใหม่เมื่อวันจันทร์ (1 ธ.ค.) โดยแต่งตั้งนางฮิลลารี คลินตัน อดีตคู่แข่งเป็นตัวแทนพรรคเดโมแครตไปชิงประธานาธิบดี ขึ้นมาเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศตามที่มีกระแสข่าวก่อนหน้านี้ รวมทั้งทาบทามให้นายโรเบิร์ต เกตส์ นั่งเก้าอี้รัฐมนตรีกลาโหมต่อไปเหมือนเดิม เพราะดำรงตำแหน่งนี้อยู่ในขณะนี้ เพื่อสานต่อปฏิบัติการทางทหารในต่างแดน แต่ได้มอบหมายหน้าที่ใหม่ให้คือ ยุติสงครามอิรักโดยเร็ว
ส่วนคนอื่นๆ ที่ได้รับแต่งตั้งให้ร่วมในคณะทำงานด้านความมั่นคง ได้แก่ พล.ร.อ.เกษียณราชการเจมส์ โจนส์ ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาด้านความมั่นคงแห่งชาติ นางเจเน็ต นาโปลิตาโน ผู้ว่าการรัฐอริโซนา เป็นรัฐมนตรีกระทรวงความมั่นคงมาตุภูมิ นายเอริค โฮลเดอร์ อดีตเจ้าหน้าที่กระทรวงยุติธรรม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงยุติธรรม และนางซูซาน ไรซ์ ที่ปรึกษาหาเสียงด้านนโยบายต่างประเทศ ดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตสหรัฐประจำสหประชาชาติ
จะเห็นได้ว่านายบารัก โอมาบา ที่คัดสรรบุคคลมาดำรงตำแหน่งครั้งนี้ไม่ได้คำนึงว่าบุคคลเหล่านี้สังกัดอยู่พรรคใด แต่เขาพิจารณาดูว่าใครเหมาะสมกับตำแหน่งใด แล้วจะสามารถแก้ปัญหาของชาติได้ ขณะนี้ที่สหรัฐก็มีปัญหาเช่นกัน
หากไม่เป็นไปตามนี้ก็คงได้จะได้เห็นคนชื่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง หรือ นายชัย ชิดชอบ เป็นนายกรัฐมนตรีของไทยคนต่อไปอย่างแน่นอน คงดูไม่จืดนะ
แต่เชื่อแน่ว่าวิธีที่เสนอนี้การเมืองไทยจะสามารถเดินไปได้ สัตว์มันยังเลือกผู้นำมันได้แล้วมนุษย์บอกว่ามีปัญญามากกว่าสัตว์ไม่สามารถเลือกผู้นำที่ดีได้เลยหรือ
มหาเนชั่น
http://www.mhanation.net
รายงาน
วันพุธ ที่ 3 ธันวาคม 2551
วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น