วันศุกร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เวรระงับด้วยการไม่จองเวรคนไทยฆ่ากันสันติจะเกิดได้อย่างไร

จากเหตุการณ์ที่กลุ่มพันธมิตรจำนวนหนึ่งได้เคลื่อนขบวนเดินทางไปรวมตัวกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อกดดันให้นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ลาออกจากการเป็นนายกรัฐมนตรี ที่จะเดินทางกลับจากการเดินทางไปร่วมประชุมกลุ่มประเทศเอเปคที่เปรู

ในที่สุดก็เกิดเหตุปะทะจนได้ระหว่างขบวนผ่านบริเวณฝั่งตรงข้ามถนนวิภาวดี ซอย 3 ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีวิทยุชุมชนคนแท็กซี่ ได้มีบรรดาคนขับรถแท็กซี่โพกผ้าแดงจำนวนหนึ่งพยายามขว้างปาสิ่งของเข้าใส่ พร้อมทั้งตะโกนท้าทาย ทำให้การ์ดพันธมิตรโมโห เนื่องจากเมื่อวานที่ผ่านมา กลุ่มคนขับรถแท็กซี่ได้ออกมายืนขว้างปาสิ่งของใส่รถกระบะของกลุ่มพันธมิตรที่กำลังจะพาผู้ชุมนุมเดินทางไปยังทำเนียบรัฐบาล ดอนเมือง ทำให้รถกระบะได้รับความเสียหาย

ภาพเช่นนี้ดูจะชินชาแล้วมั้งสำหรับคนไทย

ทั้งสองฝ่ายต่างก็บอกว่าไม่ชอบความรุนแรงรักประชาธิปไตย คัดค้านเผด็จการ แต่พฤติกรรมที่แสดงออกทั้งสองฝ่ายนั้น ชั่งเป็นอารยะจริงๆๆ ต่างฝ่ายต่างก็อ้างว่าฝ่ายตรงข้ามทำก่อน หากอีกฝ่ายไม่รุนแรงก่อนจนทำให้ทนไม่ได้ก็มีเหตุการณ์เช่นนี้

ดังนั้นจึงได้เคยเสนอความเห็นว่า "ถึงเวลาคนไทยต้องรวมพลังกันฆ่าพันธมิตร-ทักษิณให้สิ้นพื้นแผ่นดิน" น่าจะเป็นทางออกของวิกฤติการเมืองไทยได้ขณะนี้ แต่ดูเหมือนว่าเหตุการณ์ยิ่งทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นก็ไม่รู้ว่าตอนใดจะเกิดขึ้นอีก เพราะว่าทั้งสองฝ่ายต่างอาฆาตซึ่งกันและกัน

ที่กล่าวเช่นนี้ไม่ได้หมายความว่าจะเห็นด้วยกับอีกฝ่ายที่มีส่วนของความผิดอยู่ ยังยืนยันในหลักที่ว่าคนทำผิดต้องได้รับการลงโทษ ทั้งฝ่ายของคนชื่อทักษิณเองและฝ่ายของพันธมิตรโดยเฉพาะแกนนำที่กระทำความผิดตามที่ศาลอนุญาตออกมาจับนั้น แม้นว่ากลุ่มพันธมิตรหรือฝ่ายทักษิณชนะทังสองฝ่ายก็จะต้องถูกดำเนินคดีตามกฎหมายต่อไป ไม่ควรจะมีการยกเว้นโดยอ้างว่ารักษาประชาธิปไตยหวังให้เกิดการเมืองใหม่

ขณะเดียวกันความรุนแรงนั้นหากยังมีความอาฆาตกันอยู่ก็ย่อมจะยือเยื้อต่อไป เหมือนอย่างคราวที่มีการยึดอำนาจใหม่ก็เกิดเหตุการณ์เผาโรงเรียนตามพื้นที่ต่างๆตอนนี้จับได้หรือยังก็ไม่ใช่ผลของการอาฆาตกันและกันไม่ให้อภัยกันดอกหรือ

ดังนั้นคำพระท่านถึงบอกว่าเวรนั้นจะระงับได้ด้วยการไม่จองเวร แต่หากคนไทยยังมีความอาฆาตกันและกันอยู่มีหรือสันติจะเกิดขึ้นได้ในพื้นแผ่นดินนี้จึงขอยกคำพระมาประกอบเตือนสติ ณ ที่นี้

พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๕
พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๗
ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ-ธรรมบท-อุทาน-อิติวุตตกะ-สุตตนิบาต


คาถาธรรมบท ยมกวรรคที่ ๑

[๑๑] ...........
ก็ชนเหล่าใดเข้าไปผูกเวรไว้ว่า
คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา
คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้
เวรของชนเหล่านั้นย่อมไม่ระงับ

ส่วนชนเหล่าใดไม่เข้าไปผูกเวรไว้ว่า
คนโน้นด่าเรา คนโน้นได้ตีเรา
คนโน้นได้ชนะเรา คนโน้นได้ลักสิ่งของๆ เรา ดังนี้
เวรของชนเหล่านั้นย่อมระงับ

ในกาลไหนๆ
เวรในโลกนี้ย่อมไม่ระงับเพราะเวรเลย
แต่ย่อมระงับเพราะความไม่จองเวร
ธรรมนี้เป็นของเก่า

"พระคริสต์ตรัสว่า "พวกเจ้าล้วนเคยได้ยินคำที่ว่า 'ตาต่อตา ฟันต่อฟัน' แต่เราขอบอกพวกเจ้า จงอย่าต่อต้านคนชั่วร้าย หากใครคนหนึ่งตบแก้มขวาของเจ้า จงเอียงแก้มอีกข้างหนึ่งให้เขา..."

พระพุทธองค์ก็ทรงสอนหลักเดียวกันว่า "เวรระงับด้วยการไม่จองเวร"

เมื่อไม่ต่อเชื้อไฟ กรรมก็เดินหน้าไปไม่ได้ไกล

บางคนอาจคิดว่านี่คือเรื่องโง่เขลาอย่างยิ่ง แต่หากแยกแยะให้ถูกจะพบว่า "เวรระงับด้วยการไม่จองเวร" เป็นคนละเรื่องกับ "ทำดีได้ชั่ว" หรือทำผิดแล้วไม่ต้องรับโทษ เพราะทุกๆ กิริยาย่อมมีปฏิกิริยาไปตามครรลองของมัน

การเอียงแก้มอีกข้างให้ตบเป็นการกระทำแบบอหิงสา เป็นการยกระดับจิตใจของคน และหากคนในสังคมมีระดับจิตใจที่สูงขึ้น สังคมนั้นถ้ามิใช่โลกพระศรีอาริย์ ก็ใกล้เคียง

เมื่อเด็กๆ เราทะเลาะกัน แล้วผู้ใหญ่สั่งให้คืนดีกัน เกี่ยวก้อยกัน ง่ายๆ อย่างนั้น

การทะเลาะเบาะแว้งของผู้ใหญ่อาจมีความซับซ้อนมากขึ้น แต่โดยพื้นฐานแล้วก็เหมือนกันคือการไม่ยอมกัน ยิ่งแก่ทิฐิยิ่งสูง

แต่ไม่ว่าการวิวาทนั้นมีขนาดเล็กแบบการทะเลาะของเด็กๆ หรือใหญ่ระดับวิกฤติ สามารถลดระดับความแรงของมันลงมาได้ หากรู้จักเอ่ยคำว่า "ขอโทษ" สั้นๆ คำเดียว

คำ 'ขอโทษ' เป็นยาครอบจักรวาล ไม่มีอันตราย ไม่มีผลข้างเคียง ดับไฟวิกฤติได้ชะงัด

แต่การเอ่ยคำ 'ขอโทษ' ไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเมื่อตัวเองไม่ใช่ฝ่ายผิด เป็นคำที่เอ่ยยากที่สุด

แต่การขอโทษด้วยความจริงใจยิ่งยากเย็นกว่าร้อยเท่าพันเท่า ต้องอาศัยขันติธรรมและเมตตาธรรมสูง

และเมตตาธรรมนี้เองที่ทำให้เรามองสถานการณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะซับซ้อนเพียงไรว่า เราต่างเป็นเด็กด้วยกัน ต่างกระทำเรื่องผิดพลาดได้ง่ายๆ ดังนั้นจึงเลิกทะเลาะกันได้ง่ายๆ

โลกพระศรีอาริย์มิใช่สถานที่ที่เราแสวงหา หากเป็นสถานที่ที่เราสร้างขึ้นด้วยวัสดุพิเศษ อิฐทำด้วยความอดทน ปูนทำด้วยเมตตาธรรม และแบบแปลนออกแบบด้วยความคิดว่า "เพราะฉันแคร์ ฉันจึงยอมเธอก่อนก็แล้วกัน"

วินทร์ เลียววาริณ
5 กันยายน 2551 คมคำคนคม


คนเราเมื่ออยู่ร่วมกันไม่ว่าจะในสังคมใดหรือที่ไหน ย่อมต้องมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง และผลของการกระทบกันนี้ย่อมทำให้คู่กรณีเกิดความไม่พอใจ โกรธเคือง และอาจกลายเป็นศัตรูกันในที่สุด หากเป็นเช่นนี้แล้วทั้งสองฝ่ายย่อมเกิดการอาฆาต พยาบาทกันแน่นอน แต่หากทั้งสองฝ่ายรู้จัก "ขอโทษ" และ "ให้อภัย" ความโกรธ เกียจ เหล่านี้ย่อมหมดไป

"ขอโทษ" และ "ให้อภัย" เป็นเรื่องที่ทำยาก เพราะมันต้องมาจากการให้อภัย โดยไม่มีเงื่อนไขหรือข้อแม้ใดๆ บางคนอาจบอกว่า หาก "ขอโทษ" และ "ให้อภัย" จะเป็นการเสียศักดิ์ศรีหรือการเป็นผู้แพ้ แต่จริงๆ แล้วมันไม่ใช่. . . ถ้าคุณรู้จักให้อภัยและขอโทษคุณจะเป็นผู้ชนะต่างหาก ชนะใจตนเอง และเป็นผู้กล้าหาญ ที่คุณยอมรับความผิดนั้นได้ แล้วก็ยอมขอโทษ ในสิ่งที่ได้กระทำลงไป . . . .

อย่างไรก็ตามเมื่อพูดถึงคำ 2 คำนี้แล้ว ก็ทำให้นึกถึงการ์ตูนของคุณกะว่าก๋า เรื่องหมื่นตากับการให้อภัย แล้วอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้อ่านกัน และรู้จักกล่าวคำ "ขอโทษ" ทุกครั้งที่ทำผิด และ "ให้อภัย" ทุกครั้งเมื่อได้ฟังคำขอโทษ หากทุกคนรู้จักคำ 2 คำนี้แล้ว เชื่อว่าสังคมไทยคงจะสงบสุข ร่มเย็นแน่นอนค่ะ

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม
ขอขอบคุณผู้วาดภาพและบรรยายเนื้อหา โดย คุณกะว่าก๋า



มหาเนชั่น

http://www.mhanation.net/

รายงาน
วันพุธ ที่ 26 พฤศจิกายน 2551

ไม่มีความคิดเห็น: